โรคหลอดเลือดในสมอง

 

รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วย ระยะ พักฟื้น,

Koupit Levitru v Praze

บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์

Goldenlife Nursing Home ติดต่อ

http://www.goldenlifehome.com/

02 – 584-3705 02-583-7709

***โรคหลอดเลือดในสมอง***

โรคหลอดเลือดสมองประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า โรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต โรคนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
2. โรคหลอดเลือดสมองแตก

-โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
อาจเกิดจากการตีบดันที่หลอดเลือดสมองเอง หรือเกิดจากการมีลิ่มเลือดหลุดจากที่อื่น เช่น จากหัวใจหรือหลอดเลือดที่บริเวณคอมาอุดตันหลอดเลือดสมองทำให้สมองบางส่วนขาด เลือด

-โรคหลอดเลือดสมองแตก
เกิดจากการแตกของหลอดเลือดสมองทำให้มีเลือดออกมาคั่งและทำลายเนื้อสมองใน บริเวณนั้นนอกจากนี้อาจกดเบียดสมองที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ทำให้สมองส่วนนั้นทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติเกิดอาการอัมพฤกษ์และอัมพาต

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
1. หลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือด มีไขมันและหินปูนมาจับพบได้ทั้งในหลอดเลือดใหญ่ที่คอ มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคความดัน โรคเบาหวานโรคไขมันในเลือดสูง
2. โรคหัวใจที่มีลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น
3. หลอดเลือดสมองอักเสบ
4. โรคเลือดบางชนิด

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตก
1. โรคความดันโลหิตสูง
2. หลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กำเนิด

-อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทุกระบบ เช่น การเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นต้น สมองในตำแหน่งต่างๆทำหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นอาการของโรคหลอดเลือดสมองจึงเกิดขึ้นได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรค หากสมองส่วนใดสูญเสียการทำงานไป ก็จะเกิดอาการผิดปกติของร่างกายในระบบที่สมองบริเวณนั้นควบคุมอยู่
อาการของโรคมักเกิดอย่างรวดเร็วหรือทันทีทันใดเนื่องจากสมองขาดเลือดไป เลี้ยงทันที แต่ในบางรายอาจมีอาการแบบเป็นๆหายๆ หรือค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อยๆในระยะเวลาอันสั้น

อาการที่พบบ่อยคือ
1. อ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก
2. ชาครึ่งซีก
3. เวียนศีรษะ ร่วมกับเดินเซ
4. ตามัว หรือมองเห็นภาพซ้อน
5. พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง
6. ปวดศีรษะอาเจียน
7. ซึม ไม่รู้สึกตัว

-อาการเตือน
อาการดังกล่าวหากเกิดขึ้นและหายไปในเวลาอันรวดเร็วถือเป็นอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ท่านควรรีบไปพบแพทย์ด่วน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยหลัก
1. โรคความดันโลหิต
2. โรคเบาหวาน
3. การสูบบุหรี่
4. โรคหัวใจ
5. สูงอายุ

ปัจจัยเสริม
1. แอลกอฮอล์
2. ไขมันในเลือดสูง
3. ขาดการออกกำลังกาย

การป้องกันโรค
1. ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง
2. งดสูบบุหรี่
3. ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5. งดอาหารรสเค็มและไขมันสูง
6. ควรไปรับการตรวจร่างกายจากแพทย์เป็นประจำ

ข้อแนะนำ
1. เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนพ้นระยะอันตรายเริ่มรู้สึกตัวดี หายใจสะดวก กินอาหารได้ ควรให้การดูแลพยาบาลต่อดังนี้
• พยายามพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยไปมาทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลกดทับ (bedsore) ที่ก้นและหลังข้อต่อต่างๆ
• ให้อาหารและน้ำให้เพียงพอ ถ้าขาดน้ำผู้ป่วยจะซึมหรืออาการเลวลง
• พยายามบริหารข้อ โดยการเหยียดและงอแขนขาของทุกข้อต่อบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อเกร็งแข็ง

2. เมื่ออาการดีขึ้น ผู้ป่วยต้องหมั่นบริหารกล้ามเนื้อและพยายามใช้แขนขาเพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ถ้าผู้ป่วยนอนอยู่เฉยๆ ไม่พยายามใช้แขนขา กล้ามเนื้อก็จะลีบและข้อแข็ง

3. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง บางคนอาจฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยตัวเองได้ บางคนอาจฟื้นตัวช้าหรือพิการตลอดไปและสติปัญญาของผู้ป่วยส่วนมากยังดีเช่น ปกติ ญาติควรแสดงความเห็นอกเห็นใจอย่าแสดงความรังเกียจและคอยให้กำลังใจผู้ป่วย อยู่เสมอ

4. ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ช่วยให้โรคนี้หายเป็นปกติได้ การรักษาขึ้นกับตัวผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในการพยายามฟื้นฟูกำลังแขนขาโดยวิธีกายภาพบำบัด ผู้ป่วยควรรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านไม่ควรเปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อยหรือเดินทาง ไปรักษาโรงพยาบาลไกลๆ เพราะการรักษาย่อมไม่แตกต่างกันมาก

5. ผู้ป่วยควรงดเหล้า บุหรี่

6. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ควรดูแลรักษาโรคนี้อย่างจริงจัง และควบคุมโรคให้ใกล้เคียงปกติ

ที่มา : รพ.จุฬาลงกรณ์/by สาระแห่งสุขภาพ