ดูแลผู้สูงอายุกับโรคซึมเศร้า

โกลเด้นไลฟ์ เนอร์สซิ่งโฮม logo
โกลเด้นไลฟ์ เนอร์สซิ่งโฮม logo

รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วยระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์

Goldenlife Nursing Home ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย

02 – 584-3705 , 02-583-7709

ผู้สูงอายุกับโรคซึมเศร้า
ผู้สูงอายุกับโรคซึมเศร้า

ดูแลผู้สูงอายุกับโรคซึมเศร้า

            ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนวัยอื่น โดยพบว่าร้อยละ 10 – 13 ของผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า

ทำไมผู้สูงอายุจึงมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าวัยอื่น

          ในวัยสูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่ายได้แก่

–          การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย

–          การมีโรคบางอย่าง เช่น โรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง

–          การเจ็บป่วยทางกายที่ไม่ได้กระทบต่อสมองโดยตรง แต่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวด หรือความรู้สึกว่าร่างกายไม่แข็งแรง เช่น ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคไต ไขข้อ

–          ยาหลายชนิดอาจทำให้มีอารมณ์เศร้าได้เช่นกัน เช่นยาลดความดันโลหิตบางชนิด

–          การเลี่ยนแปลงทางจิตใจ เช่น ต้องสูญเสียคู่ชีวิตหรือต้องออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุ ทำให้ต้องปรับตัวกับการดำเนินชีวิตแบบใหม่คือไม่มีเพื่อนร่วมงาน

–          การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่นการต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้นำครอบครัวเป็นผู้ตาม หรือไม่ได้รับการยอมรับจากลูกหลาน

อาการ

          อาจมีอาการไม่มากจนถึงผู้สูงอายุบางรายมีอาการชัดเจน อาการประกอบไปด้วย

–          รู้สึกเซ็ง เศร้า เสียใจอย่างไม่มีเหตุผล

–          ความรู้สึกสนใจต่อสิ่งต่างๆรอบตัวลดลง เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร

–          นอนไม่หลับ หรือนอนมากไป

–          รู้สึกไร้ค่า คอยตำหนิตัวเอง

–          อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

–          ไม่มีสมาธิ ไม่มีความมั่นใจ ขี้หลงขี้ลืม

–          เบื่ออาหาร ผู้สูงอายุบางรายอาจทานมากขึ้น น้ำหนักตัวผิดปกติ

–          ความคิด ความเคลื่อนไหวช้า กระสับกระส่าย หงุดหงิด

–          มีความคิดอยากตาย

การปฏิบัติตัว

ผู้สูงอายุถ้าสงสัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า ควรปฏิบัติดังนี้

–          ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว เมื่อเกิดอารมณ์เศร้า คอยคุยกับเพื่อนหรือผู้อื่น

–          พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกาย ความสามารถ บทบาทที่เปลี่ยนไป

–          ทำกิจกรรม หรืองานอดิเรกที่ชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ เย็บปักถักร้อย

–          ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น การเข้าชมรมผู้สูงอายุ หรือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อนเก่าๆ

–          ไปพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

 

buy cheap kamagra oral jelly