อาการเบื้องต้นของการเป็นโรคไต

รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วย ระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์

Goldenlife Nursing Home

ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย

02 – 584-3705 02-583-7709

รูปภาพ : อาการเริ่มแรกของโรคไต</p><br /><br /> <p>จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต เป็นคำถามที่มักจะได้ยินบ่อยๆ คำตอบก็คือใช้การวินิจฉัยโรค ซึ่งตามหลักวิชาแพทย์จะอาศัยกรรมวิธี 3 ประการคือ</p><br /><br /> <p>1. การซักประวัติ (Signs) จะได้ทราบถึงลักษณะอาการ</p><br /><br /> <p>2. การตรวจทางร่างกาย (Symptoms) จะได้ทราบอาการที่แสดง</p><br /><br /> <p>3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) คือการตรวจทางห้องแล็ป ได้แก่การ</p><br /><br /> <p>ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการเอ็กซ์เรย์ รวมทั้งการตรวจทางพยาธิวิทยา เช่น การตรวจทางชิ้นเนื้อ การเพาะเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น</p><br /><br /> <p>โดยปกติแล้วเราต้องเรียนรู้กายวิภาคและสรีระหน้าที่ก่อน คือต้องรู้ว่าสภาพปกติของอวัยวะนั้นๆ เป็นอย่างไรก่อน แล้วจึงมารู้เรื่องพยาธิสภาพก็คือการรู้ภาวะการเป็นโรค ซึ่งจะทราบถึงอาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องแล็ป พูดง่ายๆการที่จะรู้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ก็ต้องรู้สภาพปกติและหน้าที่ของไต รวมทั้งโรคต่างๆของไตเสียก่อน เมื่อไตเป็นโรคก็จะมีอาการ และอาการแสดงตลอดจนความผิดปกติทั้งทางสภาพและหน้าที่ เมื่อประมวลต่างๆเข้าด้วยกันก็จะรู้ว่าเป้นโรคไตหรือไม่</p><br /><br /> <p>โรคไตสามารถใช้หลักในการแบ่งความผิดปกติได้หลายวิธี</p><br /><br /> <p>1. แบ่งตามสาเหตุ</p><br /><br /> <p>- โรคไตที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียวหรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็นกรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น</p><br /><br /> <p>- โรคไตที่เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)</p><br /><br /> <p>- โรคไตที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคที่เรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อโรค) เป็นต้น</p><br /><br /> <p>- โรคไตที่เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโตมะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น</p><br /><br /> <p>- เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด</p><br /><br /> <p>2.แบ่งตามกายวิภาคของไต</p><br /><br /> <p>- โรคของหลอดเลือดของไต เช่นมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดไต</p><br /><br /> <p>- โรคของกลุ่มเลือดฝอยของไต (Glomerulus) ซึ่งพบได้มาก เกิดการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ (Glomerulonephritis)</p><br /><br /> <p>- โรคของหลอดไต (Tubule) เช่นการตายของหลอดไตภายหลังอาการช็อคหรือได้รับสารพิษ เกิดภาวะไตวายแบบเฉียบพลัน (Acute renal failure)</p><br /><br /> <p>- โรคของเนื้อไต (Interstitium) เช่น แพ้ยาหรือได้รับสารพิษ เป็นต้น</p><br /><br /> <p>3. แบ่งตามต้นเหตุ จะแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม</p><br /><br /> <p>- ต้นเหตุจากภายในไตเอง ซึ่งอาจรูหรือไม่รู้สาเหตุก็ได้</p><br /><br /> <p>- ต้นเหตุจากภายนอกไต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรค SLE</p><br /><br /> <p>อาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดและตามระยะของโรค สิ่งตรวจพบอย่างหนึ่งอาจตรวจพบได้ในหลายๆโรค ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อาการบวม อาจเกิดจากโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ โรคขาดสารอาหารโปรตีน จากความผิดปกติของฮอร์โมน หรือจากผลข้างเคียงของยาบางตัว แต่คนทั่วไปอาจรูจักกันดีว่า อาการบวมเป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคไต ซึ่งก็เป็นจริงถ้ามีลักษณะบ่งชี้เฉพาะของโรคไตและแยกแยะโรคอื่นๆออกไปแล้วในขณะเดียวกัน โรคอื่นๆอาจจะมีอาการและสิ่งตรวจพบได้หลายอย่างที่มีส่วนคล้านเช่นโรคเอส แอล อี ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาจมีอาการแสดงออกตามระบบต่างๆเช่น ผิวหนัง เส้นผม ข้อ ไต หัวใจ ปอด และระบบเลือดเป็นต้น ดังนั้นการวินิจฉัยดรคไตจะใช้วิธีย้อนศร กล่าวคือจะเริ่มดูจากปัสสาวะก่อน เพราะไตเป็นตัวสร้างและขับถ่ายปัสสาวะ ดังนั้นปัสสาวะกับไตน่าจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ที่สำคัญต้องมีขบวนการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอ็กซ์เรย์ บางครั้งอาจต้องเจาะไต (kidney biopsy) เอาเนื้อไตมาตรวจจึงจะทราบว่าเป็นโรคไต</p><br /><br /> <p> เหตุสงสัยว่าจะเป็นโรคไต พอจะสรุปได้ดังนี้</p><br /><br /> <p>- ปัสสาวะเป็นเลือด โดยปกติในน้ำปัสสาวะจะไม่มีเลือดหรือเม็ดเลือดสอออกมา อาจมีได้บ้างประมาณ 3-5 ตัว เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศ์ขยายปานกลางการมีเลือดออกในปัสสาวะถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ ปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มก็ได้ ในสตรีที่มีประจำเดือน ปัสสาวะอาจถูกปนด้วยประจำเดือน กลายเป็นปัสสาวะสีเลือดได้ ถือว่าปกติในโรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะมักจะเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นลิ่มๆได้ ในโรคของเนื่อไตหรือตัวไตเอง การมีเลือดในปัสสาวะมักเป็นแบบสีล้างเนื้อสีชาแก่ หรือสีเหลืองเข้ม ในผู้ป่วยชาย จำเป็นต้องตรวจค้นหาสาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือด แม้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม แต่ในผู้หญิงเนื่องจากมีโอกาสกรพเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยอาจตรวจค้นหาสาเหตุได้ช้าหน่อย ในหลายๆกรณีแม้การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ อาจยังไม่สามารถบอกสาเหตุได้ จำเป็นต้องเจาะเอาเนื่อไตมาตรวจโดยพยาธิแพทย์ จึงจะทราบถึงสาเหตุได้</p><br /><br /> <p>-ปัสสาวะเป็นฟองมาก คนปกติเวลาปัสสาวะอาจจะมีฟองขาวๆบ้าง แต่ถ้าในปัสวสาวะมีไข่ขาว (albumin) หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองได้มาก ขาวๆ เหมือนฟองสบู่จำเป็นต้องตรวจปัสสาวะ และเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมาก ส่วนมากเป็นจากโรคหลอดเลือดฝอยของไตอักเสบจากไม่รู้สาเหตุ ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดลดลงและเกิดอาการบวม รวมทั้งปริมาณโคเลสเตอรอลและไขมันเลือดสูงได้ดูการตรวจหาระดับโปรตีน (albumin) ในปัสสาวะด้วยตนเองการตรวจพบไข่ขาวออกมาในปัสสาวะในจำนวนไม่มากอาจพบได้ในโรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆกัน เป็นข้อสัญนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต</p><br /><br /> <p>-ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่นพวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น</p><br /><br /> <p>-การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากและท่อทางเดินปัสสาวะ</p><br /><br /> <p>- การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือดปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ</p><br /><br /> <p>- การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็น โรคไตเป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต</p><br /><br /> <p>- การปวดหลัง ในความหมายของคนทั่วๆไป การปวดหลังอาจไม่ใช่โรคไตเพราะการปวดบริเวณเอวมักเกิดจากโรคกระดูและข้อ หรือกล้ามเนื้อ ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่นและปวดหลังบิเวณไตคือบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย</p><br /><br /> <p>อาการและอาการแสดงทั้งหมดที่กล่าวนี้ จัดเป็นอาการและอาการแสดงเฉพาะที่(local signs&symptoms) ซึ่งได้แก่ไต ทางเดินปัสสาวะ และการขับถ่ายปัสสาวะ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอาการและอาการแสดงที่ชวนให้สงสัยหรือเป็นส่วนหนึ่งของอาการดรคไตคือ อาการแสดงทั่วไป (systemic signs & symptoms) ได้แก่</p><br /><br /> <p>- อาการบวม เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นโรคไตจะมีอาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัวอาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติคซินโดรม (Nephrotic Syndrome)</p><br /><br /> <p>อย่างไรก็ตามอาการบวมอาจเกิดได้จากโรค ตับ โรคหัวใจ การขาดสารอาหารโปร ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน และการบวมชนิดไม่ทราบสาเหตุซึ่งต้องใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้แยกแยะ หรือยืนยันให้แน่นอน</p><br /><br /> <p>- ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆความดันโลหิตก็จะสูงได้</p><br /><br /> <p>อย่างไรก็ตาม สาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้นมีมากมาย โรคไตเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เป็นสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้</p><br /><br /> <p>- ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renalfailure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรังไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีดหรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามือ เป็นลมบ่อยๆ</p><br /><br /> <p>ขอแนะนำว่า ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคไตหรือไม่นั้น ต้องไปพบแพทย์ ทำการซักกประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ถ้าหากพบแพทย์ท่านหนึ่งแล้วยังสงสัยอยู่ก็ขอให้ไปพบและปรึกษาแพทย์โรคไตเฉพาะอายุรแพทย์โรคไต (Nephrologist) หรือศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ(Urologist) ก็ได้</p><br /><br /> <p> ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก นพ.สุพัฒน์ วาณิชย์การ หน่วยโรคไต โรงพยาบาลศิริราช http://www.thailabonline.com

อาการเริ่มแรกของโรคไต

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคไต เป็นคำถามที่มักจะได้ยินบ่อยๆ คำตอบก็คือใช้การวินิจฉัยโรค ซึ่งตามหลักวิชาแพทย์จะอาศัยกรรมวิธี 3 ประการคือ

1. การซักประวัติ (Signs) จะได้ทราบถึงลักษณะอาการ

2. การตรวจทางร่างกาย (Symptoms) จะได้ทราบอาการที่แสดง

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) คือการตรวจทางห้องแล็ป ได้แก่การ

ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการเอ็กซ์เรย์ รวมทั้งการตรวจทางพยาธิวิทยา เช่น การตรวจทางชิ้นเนื้อ การเพาะเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น

โดยปกติแล้วเราต้องเรียนรู้กายวิภาคและสรีระหน้าที่ก่อน คือต้องรู้ว่าสภาพปกติของอวัยวะนั้นๆ เป็นอย่างไรก่อน แล้วจึงมารู้เรื่องพยาธิสภาพก็คือการรู้ภาวะการเป็นโรค ซึ่งจะทราบถึงอาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องแล็ป พูดง่ายๆการที่จะรู้ว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ก็ต้องรู้สภาพปกติและหน้าที่ของไต รวมทั้งโรคต่างๆของไตเสียก่อน เมื่อไตเป็นโรคก็จะมีอาการ และอาการแสดงตลอดจนความผิดปกติทั้งทางสภาพและหน้าที่ เมื่อประมวลต่างๆเข้าด้วยกันก็จะรู้ว่าเป้นโรคไตหรือไม่

โรคไตสามารถใช้หลักในการแบ่งความผิดปกติได้หลายวิธี

1. แบ่งตามสาเหตุ

– โรคไตที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียวหรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็นกรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น

– โรคไตที่เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)

– โรคไตที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคที่เรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อโรค) เป็นต้น

– โรคไตที่เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโตมะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น

– เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด

2.แบ่งตามกายวิภาคของไต

– โรคของหลอดเลือดของไต เช่นมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดไต

– โรคของกลุ่มเลือดฝอยของไต (Glomerulus) ซึ่งพบได้มาก เกิดการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ (Glomerulonephritis)

– โรคของหลอดไต (Tubule) เช่นการตายของหลอดไตภายหลังอาการช็อคหรือได้รับสารพิษ เกิดภาวะไตวายแบบเฉียบพลัน (Acute renal failure)

– โรคของเนื้อไต (Interstitium) เช่น แพ้ยาหรือได้รับสารพิษ เป็นต้น

3. แบ่งตามต้นเหตุ จะแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม

– ต้นเหตุจากภายในไตเอง ซึ่งอาจรูหรือไม่รู้สาเหตุก็ได้

– ต้นเหตุจากภายนอกไต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรค SLE

อาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดและตามระยะของโรค สิ่งตรวจพบอย่างหนึ่งอาจตรวจพบได้ในหลายๆโรค ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อาการบวม อาจเกิดจากโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ โรคขาดสารอาหารโปรตีน จากความผิดปกติของฮอร์โมน หรือจากผลข้างเคียงของยาบางตัว แต่คนทั่วไปอาจรูจักกันดีว่า อาการบวมเป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคไต ซึ่งก็เป็นจริงถ้ามีลักษณะบ่งชี้เฉพาะของโรคไตและแยกแยะโรคอื่นๆออกไปแล้วใน ขณะเดียวกัน โรคอื่นๆอาจจะมีอาการและสิ่งตรวจพบได้หลายอย่างที่มีส่วนคล้านเช่นโรคเอส แอล อี ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาจมีอาการแสดงออกตามระบบต่างๆเช่น ผิวหนัง เส้นผม ข้อ ไต หัวใจ ปอด และระบบเลือดเป็นต้น ดังนั้นการวินิจฉัยดรคไตจะใช้วิธีย้อนศร กล่าวคือจะเริ่มดูจากปัสสาวะก่อน เพราะไตเป็นตัวสร้างและขับถ่ายปัสสาวะ ดังนั้นปัสสาวะกับไตน่าจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ที่สำคัญต้องมีขบวนการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอ็กซ์เรย์ บางครั้งอาจต้องเจาะไต (kidney biopsy) เอาเนื้อไตมาตรวจจึงจะทราบว่าเป็นโรคไต

เหตุสงสัยว่าจะเป็นโรคไต พอจะสรุปได้ดังนี้

– ปัสสาวะเป็นเลือด โดยปกติในน้ำปัสสาวะจะไม่มีเลือดหรือเม็ดเลือดสอออกมา อาจมีได้บ้างประมาณ 3-5 ตัว เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศ์ขยายปานกลางการมีเลือดออกในปัสสาวะถือเป็นเรื่อง สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ ปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มก็ได้ ในสตรีที่มีประจำเดือน ปัสสาวะอาจถูกปนด้วยประจำเดือน กลายเป็นปัสสาวะสีเลือดได้ ถือว่าปกติในโรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะมักจะเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นลิ่มๆได้ ในโรคของเนื่อไตหรือตัวไตเอง การมีเลือดในปัสสาวะมักเป็นแบบสีล้างเนื้อสีชาแก่ หรือสีเหลืองเข้ม ในผู้ป่วยชาย จำเป็นต้องตรวจค้นหาสาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือด แม้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม แต่ในผู้หญิงเนื่องจากมีโอกาสกรพเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยอาจตรวจค้นหา สาเหตุได้ช้าหน่อย ในหลายๆกรณีแม้การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ อาจยังไม่สามารถบอกสาเหตุได้ จำเป็นต้องเจาะเอาเนื่อไตมาตรวจโดยพยาธิแพทย์ จึงจะทราบถึงสาเหตุได้

-ปัสสาวะเป็นฟองมาก คนปกติเวลาปัสสาวะอาจจะมีฟองขาวๆบ้าง แต่ถ้าในปัสวสาวะมีไข่ขาว (albumin) หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองได้มาก ขาวๆ เหมือนฟองสบู่จำเป็นต้องตรวจปัสสาวะ และเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมาก ส่วนมากเป็นจากโรคหลอดเลือดฝอยของไตอักเสบจากไม่รู้สาเหตุ ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดลดลงและเกิดอาการบวม รวมทั้งปริมาณโคเลสเตอรอลและไขมันเลือดสูงได้ดูการตรวจหาระดับโปรตีน (albumin) ในปัสสาวะด้วยตนเองการตรวจพบไข่ขาวออกมาในปัสสาวะในจำนวนไม่มากอาจพบได้ใน โรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆกัน เป็นข้อสัญนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต

-ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่นพวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น

-การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากและท่อทางเดินปัสสาวะ

– การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือดปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ

– การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็น โรคไตเป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต

– การปวดหลัง ในความหมายของคนทั่วๆไป การปวดหลังอาจไม่ใช่โรคไตเพราะการปวดบริเวณเอวมักเกิดจากโรคกระดูและข้อ หรือกล้ามเนื้อ ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่นและปวดหลังบิเวณไตคือบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุด ท้าย

อาการและอาการแสดงทั้งหมดที่กล่าวนี้ จัดเป็นอาการและอาการแสดงเฉพาะที่(local signs&symptoms) ซึ่งได้แก่ไต ทางเดินปัสสาวะ และการขับถ่ายปัสสาวะ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอาการและอาการแสดงที่ชวนให้สงสัยหรือเป็นส่วนหนึ่งของ อาการดรคไตคือ อาการแสดงทั่วไป (systemic signs & symptoms) ได้แก่

– อาการบวม เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นโรคไตจะมีอาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัวอาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติคซินโดรม (Nephrotic Syndrome)

อย่างไรก็ตามอาการบวมอาจเกิดได้จากโรค ตับ โรคหัวใจ การขาดสารอาหารโปร ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน และการบวมชนิดไม่ทราบสาเหตุซึ่งต้องใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้แยกแยะ หรือยืนยันให้แน่นอน

– ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆความดันโลหิตก็จะสูงได้

อย่างไรก็ตาม สาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้นมีมากมาย โรคไตเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เป็นสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้

– ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renalfailure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรังไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีดหรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามือ เป็นลมบ่อยๆ

ขอแนะนำว่า ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคไตหรือไม่นั้น ต้องไปพบแพทย์ ทำการซักกประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ถ้าหากพบแพทย์ท่านหนึ่งแล้วยังสงสัยอยู่ก็ขอให้ไปพบและปรึกษาแพทย์โรคไต เฉพาะอายุรแพทย์โรคไต (Nephrologist) หรือศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ(Urologist) ก็ได้