โรคความดันโลหิตสูง

โกลเด้นไลฟ์ เนอร์สซิ่งโฮม logo

 

รับดูแลผู้สูงอายุ,ดูแลผู้ป่วย,ผู้ป่วยระยะ พักฟื้น,บ้านพักผู้สูงอายุ,ให้อาหารทางสายยาง,กายภาพบำบัด,แผลกดทับ,สวน ปัสสาวะ,สมองเสื่อม,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคกระดูกและข้อ,หลงลืม,อัมพาต ครึ่งซีก,อ่อนแรงครึ่งซีก,อัมพฤกษ์,อัมพาต,เจาะคอ,อัลไซเมอร์

Goldenlife Nursing Home ติดต่อ : ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย

02 – 584-3705 , 02-583-7709

goldenlife Christmas 2

โรคความดันโลหิตสูง

            โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องรักษาและควบคุมตลอดชีวิต โรคนี้พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 15 – 20 ทั้งเพศหญิงและเพศชายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป

ความดันโลหิตคืออะไร

            ความดันโลหิตคือแรงดันของกระแสเลือดที่มีต่อผนังหลอดเลือดโดยมีอวัยวะสำคัญที่ควบคุมให้ความดันอยู่ในระดับปกติ เช่น หัวใจ ไต หลอดเลือดที่หดหรือขยายตัวได้ เป็นต้น

            ค่าความดันโลหิตขณะนั่งพักในวัยผู้ใหญ่จะประมาณ 128/80 มม.ปรอท และเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ตามท่าของร่างกาย อาหาร เครื่องดื่ม อารมณ์ที่เปลี่ยน ปริมาณการออกกำลัง เป็นต้น สามารถตรวจวัดความดันโลหิตรอบแขนได้ 2 ค่าดังนี้

1.      ความดันซีสโตลิกหรือค่าบน เป็นแรงดันสูงสุดขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว ค่าปกติจะไม่เกิน 139 มม.ปรอท

2.      ความดันไดแอสโตลิกหรือค่าล่าง เป็นแรงดันขณะที่หัวใจคลายตัว ค่าปกติจะไม่เกิน 89 มม.ปรอท

ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร

            ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 140/90 มม.โดยวัดขณะนั่งพัก 5 – 10 นาที ที่ไม่ได้สูบบุหรี่หรืแอลกอฮอล์ และได้ค่าสูงตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูงได้ดังนี้

ระดับความดันโลหิต

ค่าบน/ซีสโตลิก

ค่าล่าง/ไดแอสโตลิก

ปกติ

น้อยกว่า 120

น้อยกว่า 80

เริ่มมีความเสี่ยงต่อโรค

120 – 139

80 – 89

ความดันสูงเล็กน้อย

140 – 159

90 – 99

ความดันสูงปานกลาง

160 – 179

100 – 109

ความดันสูงรุนแรง

180 – 209

110 – 119

ความดันสูงถึงขึ้นอันตราย

ตั้งแต่ 210 ขึ้นไป

ตั้งแต่ 120 ขึ้นไป

 

ความดันโลหิตสูงแบ่งเป็น 2 ชนิด

1.    ความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน พบได้มากกว่าร้อยละ 90 ในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปโดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

a.      พันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง

b.      โรคอ้วน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง

c.       บริโภคอาหารรสเค็ม หรือเกลือโซเดียมมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีพันธุกรรม

d.      ขาดการออกกำลังกาย

e.      มีความเครียดสูงและเรื้อรัง ( มุ่งร้ายต่อผู้อื่น หรือมีภาวะกดดันตลอดเวลา )

f.        ร่างกายมีความไวต่อการสะสมเกลือและโซเดียม

g.      ดื่มแอลกอฮอล์และกาแฟมากเกินไป

2.    ความดันโลหิตสูงชนิดทุติยภูมิ ที่มีสาเหตุของโรค เช่น โรคไต โรคของต่อมไร้ท่อ นอนกรนและหยุดหายใจเฉียบพลัน จากยาบางชนิด การตั้งครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น แต่หลังการรักษาต้นเหตุความดันสูงจะกลับเป็นปกติ

ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเฉพาะค่าบนเนื่องจากมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและตีบ

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

            โรคความดันโลหิตสูงในระยะแรกส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดแสดงออกมา  มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการและที่พบได้บ่อยคือ มีอาการปวดมึนท้ายทอย ปวดตึงที่ต้นคอ มีอาการปวดศีรษะ สำหรับผู้ที่มีความดันสูงรุนแรงอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น มือเท้าชา ตามัว อัมพาตหรือถึงขึ้นเสียชีวิตได้  เฉียบพลัน เป็นต้น

            โรคนี้ถ้าไม่ได้มีการรักษาเป็นเวลานานๆ ร่วมกับหากมีภาวะไขมันสูงอยู่แล้ว ประกอบกับมีการสูบบุหรี่ หรือโรคเบาหวานที่ไม่ควบคุมที่ดีพอ  น้ำตาลในเลือดที่สูงจะเร่งให้หลอดเลือดแดงเสื่อมโดยมีคราบไขมันพอกที่ผนังหลอดเลือด เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ ก่อให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดอาการของภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญ ได้แก่

1.      หัวใจ เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจวายหรือมีหลอเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง

2.      สมอง เกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตก ทำให้เป็นอัมพาต ละถ้าเกิดในตำแหน่งสำคัญอาจเสียชีวิตรวดเร็ว ความดันที่สูงรุนแรงเฉียบพลันจะทำให้สมองบวม ปวดศีรษะ และซึมลงจนไม่รู้สึกตัว

3.      ไต จากมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอเกิดภาวะไข่ขาวรั่วออกทางปัสสาวะ ไตวายเรื้อรังหรือเฉียบพลัน ซึ่งจะทำให้ความดันยิ่งสูงมากขึ้น

4.      ตา หลอดเลือดแดงในตาแตก และมีเลือดออกทำให้ประสาทตาเสื่อมและอาจตามัวลง

5.      หลอดเลือดแดงใหญ่ เกิดอาการโป่งพองและ หรือ ฉีกขาดของผนังหลอดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอก ถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิต

วิธีการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

            เป้าหมายของการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ คือ การควบคุมให้ต่ำกว่า 140 – 90 มม.ปรอท และผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือไตเรื้อรังควรควบคุมให้ต่ำกว่า 130 – 80 มม.ปรอท แนวทางการรักษามีดังนี้

1.      เปลี่ยนพฤติกรรมสู่การสร้างสุขภาพที่ดี เพื่อลดความดันและปัจจัยเสี่ยง ผุ้ที่มีความดันสูงเพียงเล็กน้อย ความดันจะลดเป็นปกติ ได้โยไม่ใช้ยา ได้แก่

a.      ลดน้ำหนักส่วนเกิน

b.      เลิกบุหรี่และเหล้า

c.       ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าเลิกออกกำลังกายความดันสูงจะกลับมาใหม่

d.      ลดอาหารรสจัด ( หวาน มัน เค็มจัด ) เพิ่มรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลาและนมไขมันต่ำ

e.      รู้จักคลายเครียด

2.      ให้ยาความดันโลหิต สำหรับผู้ที่มีความดันยังคงสูงกว่า 140 – 90 มม.ปรอท เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ปัจจุบันมียาใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ผลดีในการรักษาและควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติ เช่น ขับเกลือและน้ำออกทางปัสสาวะ ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขยายหลอดเลือด เป็นต้น

3.      ติดตามการรักษา เพื่อประเมินการควบคุมความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ และผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ เช่นตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น